การที่เราคิดจะปักลายรอบคอเสื้อไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะ มันไม่ยากเลยถ้าเสื้อนั้นยังไม่ได้เย็บสำเร็จ แต่หากเราเจองานที่ต้องปักรอบคอเสื้อที่เสื้อถูกเย็บสำเร็จเรียบร้อยแล้วเนี่ย ถ้าจักรปักที่มีกล้องแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องยากมากเลยค่ะ
พอดีแม่ของอ้อนไปสั่งตัดเย็บเสื้อมา เพื่อจะใส่ไปงานแต่งงาน แต่พอตัดเย็บมาแล้วแม่รู้สึกว่ามันโล่งไป เลยอยากให้อ้อนช่วยปักลายดอกรอบๆคอเสื้อให้หน่อยค่ะ แต่จักรอ้อนเป็นจักรBrother รุ่น PR 670E ที่ไม่มีกล้องงานนี้เลยเป็นเรื่องยากพอสมควร วันนี้อ้อนจึงนำเทคนิคที่อ้อนใช้ในการปักเสื้อแม่มาแชร์ให้อ่าน เผื่อมีคนที่เจองานแบบนี้ค่ะ
เริ่มจากถ่ายภาพคอปกเสื้อตัวที่เราต้องการปัก โดยวางไม้บรรทัดหรือสายวัดประกอบไว้ด้วยตรงบริเวณส่วนที่กว้างสุดของคอเสื้อเพื่อให้สะดวกในการหาสเกลคอเสื้อตอนนำภาพเข้าไปในโปรแกรมตีลายค่ะ จากนั้นให้ถ่ายรูปมุมกดให้กล้องขนานกับตัวผ้าเลยค่ะ
นำภาพเข้าสู่โปรแกรมตีลาย ย่อขยายภาพให้คอเสื้อตรงสเกลกับของจริงที่เราได้วัดไว้ โดยเทียบกับไม้บรรทัดหรือสายวัดที่ถ่ายร่วมด้วย
เปิดGridในโปรแกรมตีลายขึ้นมาประกอบ เพื่อหาตำแหน่งให้ตรงกับสะดึงจริง เพราะ Grid ในโปรแกรมจะมีขนาดเท่ากับขนาดของตารางแผ่นพลาสติกเทมเพลตที่มาพร้อมกับสะดึงค่ะ (ตารางวัดในสะดึง) จากนั้นให้ขึงเสื้อกับสะดึงให้จุดกึ่งกลางของคอเสื้ออยู่กึ่งกลางสะดึงให้มากที่สุด แล้วใช้แผ่นตารางเทมเพลตวัดขอบเขตในสะดึงประกอบกับในโปรแกรม เพื่อดูตำแหน่งลายให้ตรงกันก่อนการปัก เมื่อเทียบกันจนชัวร์แล้วจึงทำการปักค่ะ
หากใครนึกไม่ออกว่าแผ่นพลาสติกตารางสำหรับดูตำแหน่งลายในสะดึงเป็นยังไง ตามในรูปด้านบนนี้เลยค่ะ เป็นแผ่นพลาสติกที่เป็นตารางตามขนาดของสะดึงเลย ขึึงสะดึงโดยมีแผ่นพลาสติกนี้วางด้านบน เพื่อให้ขึงได้ตรงตำแหน่งที่ตรงกับลายในโปรแกรมค่ะ
สะดึงที่สามารถปักรอบคอเสื้อได้
เพียงดูตารางจากสะดึงและจากในโปรแกรมประกอบกัน ก็จะรู้ตำแหน่งที่ลายจะปักลงแล้วค่ะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถปักลายได้ตรงรอบตำแหน่งคอเสื้อที่มีความเว้าโค้งได้แม่นยำมากขึ้นแล้วค่ะ ลองเอาวิธีอ้อนไปใช้กันดูนะคะ แต่หากใครไม่เคยใช้แล้วทำแผ่นพลาสติกหาย ให้รีบไปหามันกลับมาได้แล้วค่ะ มันมีประโยชน์จริงๆนะ
AutoSewing by Aon