เคยสงสัยไหมคะว่า ลายปักที่อยู่บนเสื้อผ้าของเราทุกวันนี้มาจากไหน แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไง มีส่วนน้อยมากค่ะ หากไม่ได้อยู่ในวงการจักรปัก จะไม่รู้ว่าการที่จะมีลายปักสักหนึ่งลาย จะต้องผ่านขั้นตอนการสร้างลายปัก หรือที่เรียกว่า ” การตีลาย” มาก่อน หรือในบางคนจะเรียกว่า “ทำบล๊อกปัก” ซึ่งเป็นศัพท์ที่มาจากการทำบล๊อกสกรีนนั่นเอง ซึ่งจะสังเกตุว่าหากร้านไหนรับทำงานสกรีน ส่วนมากจะมีการรับปักด้วย
หากใครคุ้นเคยกับการไปจ้างร้านสกรีนแล้ว คงจะรู้ว่า ในการจ้างทำสกรีนนั้นต้องมีการเสียค่าทำบล๊อกสกรีนก่อน เพื่อจะได้มีการสร้างต้นแบบบล๊อกก่อนทำการสกรีน เช่นเดียวกันค่ะ งานปักก็เช่นเดียวกัน จะต้องมีการสร้างลายขึ้นมาก่อนจึงจะสามารถปักได้
หลายคนเข้าใจว่า หากเอาภาพถ่ายเข้าไปในจักรแล้ว ก็จะสามารถเป็นลายปักได้เลย ซึ่งเป็ความเข้าใจที่ผิดมากๆค่ะ ลายปักเกิดจากภาพต้นแบบที่เป็นภาพถ่าย หรือรูปภาพก็จริง แต่นั่นเป็นเพียงแค่ต้นแบบเพื่อนำมาสร้างลายในโปรแกรมสร้างลายปักอีกทีค่ะ ซึ่งไฟล์ที่ได้จะเป็นไฟล์เฉพาะที่จะสามารถนำไปเปิดที่จักรปักได้ เช้นไฟล์ .pes , .Dst
โปรแกรมในการสร้างลาย มีหลายโปรแกรมให้เลือกใช้ค่ะ เช่น โปรแกรม Pe Design , โปรแกรม Wilcom , โปรมแกม Wing และอื่นๆ แต่โดยส่วนตัวอ้อนแล้วใช้โปรแกรม Pe Design ค่ะ ซึ่งก็จะมีคำถามตามมาอีกว่า เราสามารถสร้างลายปักจากไฟล์โปรแกรม illustrator และ Photoshop ได้หรือไม่
คำตอบคือ..ได้ค่ะ ในส่วนของภาพจากโปรแกรม illustrator สามารถ export เป็นไฟล์ .wmf แล้ว import มาทาง import > from vecter image ภาพจากการวาด illustrator ก็จะเข้ามาในโปรแกรมตีลาย และกลายเป็นลายปักค่ะ แต่ข้อเสียของการสร้างลายปัก โดยimport มาจากโปรแกรม illustrator คือ
1. ในบางส่วนของภาพที่มีขนาดเล็ก เช่นจุดเล็กๆ เมื่อนำมาเข้าโปรแกรมตีลาย ลายส่วนที่เล้กจะไม่สามารถนำมาสร้างลายปักได้
2. ต้องทำการจัดไหมเข้าออกใหม่ทั้งหมด เพราะการเรียงไหมปัก และการเรียงสุดเริ่มจุดจบจะไม่เป็นระเบียบเหมือนเรามาสร้างลายโดยตรงจากโปรแกรมตีลาย และทำให้เกิดด้ายโยงเยอะ
จักรปักคอมพิวเตอร์ Brother รุ่น VR
ส่วนไฟล์ภาพนั้น จะสามารถสร้างเป็นลายปักแบบ Automatic นั้น ก็สามารถทำได้ โดย Automatic punch software เป็นซอฟแวร์ที่ทุกคนสามารถทําได้เพราะเป็นการทํางานแบบอัตโนมัติ แต่จะเหมาะกับรูปทรงพื้นฐานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ตัวโปรแกรมจะไม่สามารถปรับค่าลักษณะพิเศษต่างๆ ได้เลย หากไม่มีการแต่งภาพให้ดี เมื่อนำเข้ามาในโปรแกรมตีลายปัก จะทำให้ภาพต้องใช้สีในการปักหลายสี และการปักไม่เป็นระเบียบ ทำให้ต้องใช้เวลาปักเป็นเวลานานจึงจะได้ภาพนั้นๆ
เนื่องจากการสร้างลายปัก ต้องใช้เวลาและมีเทคนิคเฉพาะในการสร้างเช่นเดียวกับการทำไฟล์ดิจิตอลต่างๆ ประกอบกับต้องมีความรู้เรื่องงานปักประกอบด้วย การสร้างลายจึงมีราคาในการตีลาย และด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดอาชีพตีลายขึ้นมา และสำหรับบางคนที่มีความสามารถทางด้านกราฟิกอยู่แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะเรียนรู้เรื่องการตีลาย ซึ่งอาชีพตีลายถือเป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้ที่ทำกราฟิกเป็น หรือผู้ชอบวาดรูปสามารถสร้างลายปักของตัวเองเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพได้ทางหนึ่งค่ะ
ส่วนราคาของการสร้างลายปักนั้นขึ้นอยู่กับรายละเอียด ความยากง่ายของภาพ หากภาพมีความซับซ้อนมากค่าตีลายก็จะสูงขึ้น
ปกติค่าตีลายเบื้องต้นที่ยังไม่รวมการปักที่ขนาด สะดึง 10 x 10 cm จะอยู่ที่ 250-300 บาท /ลาย
ค่าตีลายแบบ AutoSewing เบื้องต้น ในขนาดสะดึง 10×10 cm จะอยู่ที่ 500 บาท/ลาย
ค่าตีลายแบบเปลี่ยนลายเส้นเป็นลายปัก
– ภาพคนครึ่งตัว ค่าตลายขนาดสะดึง 20×20 cm ขึ้นไป ค่าตีลาย 700 บาท/คน/ลาย
– ภาพคนเต็มตัว ค่าตีลายขนาดสะดึง 20×20 cm ขึ้นไป ค่าตีลาย 1000 บาท/คน/ลาย
– ภาพสัตว์ครึ่งตัว ค่าตีลายขนาดสะดึง 20×20 cm ขึ้นไป ค่าตีลาย 700 บาท/ตัว/ลาย
– ภาพสัตว์ครึ่งตัว ค่าตีลายขนาดสะดึง 20×20 cm ขึ้นไป ค่าตีลาย 1000 บาท/ตัว/ลาย
– ภาพวิว ค่าตีลาย 800 บาท/ภาพ
– ตีลายปักครอสติช 800 บาท/ภาพ
หากใครสนใจอยากมีอาชีพเสริมเป็นคนตีลายปักะ ควรที่จะมีพื้นฐานทางด้านการใช้จักรควบคู่ไปด้วยค่ะ เพราะการตีลายปักและการปักต้องอาศัยประสบการณ์ในการปักด้วย เพราะมีปัจจัยแปรผันหลายอย่าง ทั้งวัสดุรองปัก และการปักบนวัสดุประเภทไหนด้วย เช่นบางลายปักบนหนังสวย แต่ปักบนผ้าไม่สวย ก็มีค่ะ หากใครสนใจลองศึกษาวิธีสร้างลายปักดูนะคะ
AutoSewing by Aon