ก่อนหน้านี้คงมีคนเคยทำเทคนิคแอพพลิเคในงานปักจักรกันมาบ้างแล้ว งานแอพพลิเคไม่ใช่เรื่องยากหากรู้เทคนิค แต่มันจะยากถ้าวัสดุที่ต้องการใช้แอพพลิเคชิ้นนั้น มีรูปทรงที่ฟิกซ์และตำแหน่งการวางต้องถูกต้องแม่นยำ อย่างเช่นที่อ้อนทำเป็นตัวอย่างในบทความนี้ คือตำแหน่งบริเวณใบหน้า ซึ่งเกิดจากการเพนท์บนผ้าชิ้นมาก่อน แล้วนำมาแอพพลิเคร่วมในงานปักค่ะ คือจะต้องวางผ้าตามรูปทรงของโครงหน้า และไม่คลาดเคลื่อนนั้นเป็นเรื่องยาก แต่วันนี้อ้อนมีเทคนิคดีๆมาบอกค่ะ
เนื่องจากงานนี้เป็นงานวาดหน้าลงบนผ้าชิ้น แต่ต้องการนำหน้าที่เพนท์ไปแอพพลิเคร่วมกับลายปักค่ะ จึงต้องทำลายปักให้พอดีกับหน้าที่วาดนี้ จึงต้องมีเทคนิคในการสร้างโครงหน้าให้ฟิกซ์พอดี
เริ่มจากการนำผ้าที่วาดใบหน้านี้ ไปรีดด้วยกาวทำอาร์มที่บริเวณผ้าด้านผิดค่ะ ใช้เตารีดปรับความร้อนปานกลาง รีดให้กาวละลายติดกับผ้า จากนั้นลอกเอากระดาษของกาวทำอาร์มออก นำไปแสกนกับเครื่องตัด Scanncut
เลือกเมนูที่หน้าจอเครื่องตัด Scanncut เป็น” Scan to Cut Data “
ทำการแสกนภาพเสร็จให้เลือกไปที่เมนู เอาแต่ส่วน outline ด้านนอก จะเห็นว่าจะเกิดเส้นเฉพาะโครงข้างนอกของหน้า เราสามารถสั้งตัดผ้าได้เลยค่ะ ซึ่งเราสามารถนำโครงเส้นที่เกิดในเครื่อง Scanncut นี้ไปเปิดในโปรแกรมตีลาย Pe Design ได้ค่ะ โดย save ลง แฟลชไดร์ฟ
นำโครงหน้าเข้ามาในโปรแกรมตีลาย Pe Design ด้วยเมนู Scanncut แล้วกด import นำลายเข้ามา
จะพบว่าโครงที่ปรากฎในเครื่องตัด Scanncut มาปรากฎในโปรแกรมตีลายแล้วค่ะ ขนาดจะเท่ากับผ้าที่ถูกตัดในเครื่องScanncut เลย
จากนั้นจึงทำการตีลายในองค์ประกอบอื่นๆ จนเสร็จสมบูรณ์ค่ะ แล้วนำไปปัก
เพียงเท่านี้ก็สามารถวางโครงหน้าได้ตรงตำแหน่งและตามสัดส่วนที่ถูกต้องแล้วค่ะ ลองนำเทคนิคอ้อนไปใช้กันดูนะคะ
AutoSewing by Aon